Review หนังสือ
"ขนมไทย มีอะไรมากกว่ารสชาติ" ให้ประโยคนี้แทนหนังสือเล่มนี้
เพราะคนเราส่วนมากจะรับรู้การกินขนมไทยเราโดยตรงก็คือ รสชาติ แต่ใครจะรู้ว่ากระบวนการทำมันมีมากกว่านั้น ทั้งสี และกลิ่นของขนมไทยมีการทำหลายรูปแบบที่ทำออกมาให้คนได้ซื้อได้รับประทานกัน หนังสือเล่มนี้มีคำตอบให้สำหรับผู้ที่สนใจและอยากรู้ข้อมูลเรื่องสีและกลิ่นของขนมไทยด้วย เพื่อให้เรารู้และอยากที่จะอนุรักษ์ขนมไทยของไทยเราไว้ให้อยู่คู่คนไทยตลอดไป
"สีของขนมไทย"
สีของขนมไทยที่เราเห็นได้ตามท้องตลาดทั่วไปมีหลายสีมาก ใช้ตามชนิดของขนมแต่ละอย่างไป โดยมีทั้งสีที่มาจากธรรมชาติและสีที่มาจากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ สีจะช่วยให้ขนมสวยงามและมีความน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. สีที่มาจากธรรมชาติ คือ สีที่ได้มาจากการสกัดมาจากพืชโดยได้มาจากทั้ง ใบ ดอก ผลหรือเมล็ดของพืชนั้นๆ สีจากธรรมชาติถือว่าปลอดภัยมากที่สุด โดยมีหลายสีตามพืชที่เลือกใช้ เช่น - สีเขียว ได้มาจากใบเตย โดยนำใบเตยมาล้างให้สะอาดแล้วนำมาหั่น จากนั่นโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำลงไปเล็กน้อยแล้วคั่นกรองผ่านผ้าขาวบางก็จะได้สีเขียวออกมาใส่ขนมไทยแถมยังหอมกลิ่นใบเตยอีกด้วย ตัวอย่างขนมไทยที่ใช้สีเขียว เช่น ขนมสังขยา ขนมเปียกปูน เป็นต้น
ขนมเปียกปูน
- สีเหลือง ได้มาจากฟักทอง โดยนำฟักทองมาต้มให้สุกจากนั้นนำมาบดให้ละเอียดแล้วก็นำไปผสมกับแป้งได้เลย แค่นี้ก็ได้สีเหลืองแล้ว ตัวอย่างขนมไทยที่ใช้สีเหลือง เช่น ขนมวุ้น ขนมฟักทอง เป็นต้น
ขนมฟักทอง
- สีน้ำเงินหรือฟ้า ได้มาจากดอกอัญชัญ โดยการนำดอกอัญชัญมาใส่ถ้วยแล้วเติมน้ำลงไปพอเหมาะจากนั้นขยำบี้ แล้วนำไปใส่ผ้าขาวบางแล้วกรองเอาแต่น้ำที่มีสีน้ำเงินออกมาจากดอกอัญชัญ ตัวอย่างขนมไทยที่ใช้สีน้ำเงิน เช่น ขนมชั้น ขนมดอกอัญชัญ เป็นต้น
ขนมชั้น
2. สีที่ได้มาจากการสังเคราะห์หรือสีวิทยาศาสตร์ คือ สีอินทรีย์ที่ได้มาจากการสังเคราะห์เลียนแบบธรรมชาติ มีหลากหลายสีให้เลือกใช้ได้ตามต้องการเลยมีมากกว่าสีที่มาจากธรรมชาติ แต่จะต้องมีฉลากว่าเป็นสีผสมอาหาร มีอย.บรรจุที่ภาชนะด้วยเพราะจะได้ปลอดภัยแก่ผู้ที่เลือกใช้และรับประทานที่มีสีสังเคราะห์อย่างปลอดภัย ขนมที่นิยมใช้สีสังเคราะห์หรือสีผสมอาหารก็เช่น ขนมลูกชุบ เพราะจะเห็นได้ว่าขนมลูกชุบนั้นมีการปั้นให้เป็นรูปร่างต่างๆมากมาย เพราะฉะนั้นก็ต้องเลือกใช้สีที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย สีผสมอาหารจึงเป็นทางเลือกที่ดีกับการทำขนมลูกชุบนั้นเอง
ขนมลูกชุบ
"กลิ่นของขนมไทย"
กลิ่นของขนมไทย นอกจากรสชาติและสีสันของขนมไทยแล้วยังมีกลิ่นที่เพิ่มความอยากกินขนมไทยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย โดยส่วนมากกลิ่นมากจากพืชธรรมชาติ โดยดอกไม้ที่นิยมก็คือ ดอกมะลิ โดยถ้าเรานำดอกมะลิมาลอยน้ำก็จะทำให้น้ำมีกลิ่นหอมดื่มเข้าไปแล้วก็จะหอมชื่นใจมากขึ้น นอกจากดอกมะลิแล้วก็ยังมีดอกกระดังงา ดอกกุหลาบอีกด้วย
ดอกมะลิ
หนังสือเล่มนี้ทำให้เรารู้ว่าขนมไทยมีอะไรมากกว่ารสชาติจริงๆ มีทั้งสีและกลิ่นที่เราเห็นๆกันอยู่ทั่วไปแต่ไม่ได้รู้อะไรมาก หนังสือเล่มนี้ก็ทำให้เราได้รู้เกี่ยวกับขนมไทยมากขึ้น ถ้าใครสนใจที่จะอยากทำหรือรู้อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับขนมไทยก็สามารถหาหนังสือมาอ่านเพิ่มเติมตามความต้องการได้เลยนะคะ
ข้อมูลจากหนังสือ:
กระยาทิพย์ เรือนใจ. ปั้นแต่งขนมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : พิมพการ การพิมพ์, 2537.
กระยาทิพย์ เรือนใจ. ปั้นแต่งขนมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : พิมพการ การพิมพ์, 2537.
ที่มารูปภาพประกอบ:
(ขนมเปียกปูน) http://www.zabwer.com/2016/04/black-coconut-sweet-pudding.html
(ขนมฟักทอง) https://cooking.kapook.com/view121011.html
(ขนมชั้น) https://nana108.weebly.com/
(ขนมลูกชุบ) https://sites.google.com/site/lookchoop14/
(ดอกมะลิ) http://wallpoop.com/?p=10767
ขนมไทย โดย twopee อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://raochobkanomthai.blogspot.com/p/review.html.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น